บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่6 เทคโนโลยีสารสนเทศ




บทที่6 เทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศ 

เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง วิธีการปฏิบัติ ที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบ ที่ได้ผ่านการประมวลผล จากคอมพิวเตอร์มา

แล้ว นั่นคือได้ผ่านการคำนวณ การจัดเรียง การเปรียบเทียบ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้

ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เรียกว่า สารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ






การที่จะได้ผลลัพธ์ จะต้องทำการป้อนข้อมูลดิบที่เป็น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ

เคลื่อนไหว หรือเสียงต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้ คือสารสนเทศ

ที่สามารถนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ ได้ https://sites.google.com/site/krunoptechno/khxmul-kab-sarsnthe


วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก และยังมีผลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน เมื่อราว พ.ศ.2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลาย จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูล ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

การดำเนินชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มี่บทบาทเพิ่มขึ้น พ.ศ.2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการเรียนคอมพิวเตอร์จากเดิมเป็นวิชาเลือก แต่ในปัจจุบันกำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียน เพื่อให้เยาวชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ดังนี้

      ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era)
-ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของงานประจำ
       ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
-มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยในการตัดสินใจดำเนินการในด้านต่างๆ
       ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ(Information Resource Management)
-การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเน้นถึงการใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
    ยุคที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอที(Information Technology Era)
-ความเจริญของเทคโนโลยีมีสูงมาก มีการขยายขอบเขตการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ


http://nutnichasawatdech1.blogspot.com/


เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 

เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)


เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น


สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ




แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม


นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ 
เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ 
เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ 
เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ 
เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ 
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม 
เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล 


ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้ 

ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)


แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ


ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้นำไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย ไมโครคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 เพียงไม่กี่ปีต่อมาก็ได้พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 หากย้อนกลับไปในอดีตพบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรุ่นใหม่บ่อยมาก บริษัทผู้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ได้คิดค้นและพัฒนาให้ขีดความสามารถเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในปี พ.ศ. 2545 ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นเพนเตียมโฟร์ของบริษัทอินเทล และรุ่นเอครอนของบริษัทเอเอ็มดี ทำงานได้ด้วยความเร็วกว่า 2,000 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีความเร็วในการคำนวณเพิ่มขึ้น มีผลทำให้พัฒนาการทางซอฟต์แวร์ก้าวหน้าไปจากเดิมมาก 


ขณะเดียวกันความจุของหน่วยความจำหลักที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ . 2524 มีหน่วยความจำเพียง 64 กิโลไบต์ แต่ปัจจุบันแนวโน้มของหน่วยความจำในไมโครคอมพิวเตอร์เป็นหลายร้อยเมกะไบต์จนมีแนวโน้มถึงกิกะไบต์ในไม่ช้านี้ 


ความจุของฮาร์ดดิสก์ก็เช่นเดียวกัน ฮาร์ดดิสก์รุ่นแรกที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขายกันอยู่ทั่วไปมีฮาร์ดดิสก์หลายสิบกิกะไบต์ นั่นหมายความว่า ความจุของฮาร์ดดิสก์ได้เพิ่มขึ้นหลายพันเท่า ในขณะเดียวกันราคาของฮาร์ดดิสก์ 30 กิกะไบต์ ก็ถูกกว่าราคาของฮาร์ดดิสก์ 10 เมกะไบต์ในเวลานั้นมาก


จากแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมานี้ พอจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในเชิงประสิทธิภาพ และปริมาณความจุอย่างต่อเนื่องทุกปี ขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีขีดความสามารถประมวลผลรูปภาพได้ดี และมีการใช้งานกับอุปกรณ์สื่อประสมที่ต้องการ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวีดิทัศน์มากขึ้น 


หากพิจารณาแนวโน้มของขีดความสามารถในเรื่องความเร็วของการสื่อสารข้อมูล พบว่าความเร็วของการสื่อสารข้อมูลก็เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเช่นกัน การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบอินเทอร์เน็ตเริ่มมีใช้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2526 ส่วนรูปแบบการสื่อสารแบบโทเก็นริง ก็ได้พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2527 จึงทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ความเร็วของการสื่อสารในเครือข่ายแลนที่ใช้เอทีเอ็มสวิตช์มีความเร็ว 155 ล้านบิตต่อวินาที และ 622 ล้านบิตต่อวินาที เรามีตัวกลางที่ใช้ในการนำสัญญาณที่เป็นเส้นใยนำแสง ทำให้ความเร็วในการสื่อสารเพิ่มได้อีกมากในอนาคต 


เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการจัดการสารสนเทศมักมีเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องจึงมีการเรียกรวมกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT)



ความหมายของคำว่าข้อมูลกับสารสนเทศ


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ข้อมูล (Data or Raw Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (Fact) ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะ หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการเก็บรวบรวมไว้ และมีความหมายในตัวเอง สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้ได้ ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี "เทคโนโลยี" มีความหมายมาจากคำ 2 คำคือ "Technique" ซึ่งหมายถึง วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า "Logic" ซึ่งหมายถึง ความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันแล้ว จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับ อย่างมีรูปแบบ และขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว 
(Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliable) ความถูกต้อง 
(Accurate) ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง 

พิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ทาง อิเล็คทรอนิคที่สามารถทำการกำหนดชุดคำสั่ง (Programmable) ในการนำข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่เกิดประโยชน์และนำสารสนเทศเหล่านั้นเก็บและนำมาใช้ต่อไปได้ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ ส่วนนำข้อมูลเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process) ส่วนแสดงผล (Output) และส่วนเก็บข้อมูล (Storage)

พัฒนาการของสารสนเทศและเทคโนโลยีสู่ยุคดิจิตอล

ยุคดิจิตอล พัฒนาการจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานมาก กว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่เราท่าน ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน

ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เช่น เมื่อเราไปฝาก หรือ ถอนเงินจากธนาคารทุกแห่งในขณะนี้ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เราก็น่าที่จะเริ่มเรียนรู้อย่างมีระบบจากง่ายและนำพาตัวเราไปสู่การเรียนรู้ที่เข้าใจเทคโนโลยีอย่างมีการค้นคิดที่มากขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อที่เราจะได้ก้าวไปเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเทคโนโลยีได้ต่อไป

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษา

การนำเทคโนโลีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ เราจะเห็นได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา ราชการ และในเชิงพาณิชย์

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

การเรียนรู้สารสนเทศจากอินเตอร์เน็ตนั้นได้เปลี่ยนชีวิตผู้คนให้มีลักษณะเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น มีการพูดคุยและสื่อสารกันโดยผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีผลทั้งทางลบและทางบวก ในทางบวกนั้น เราจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น แต่ก็มีผลในทางลบด้วยเช่นกัน หากข้อมูลบางอย่างนั้นเป็นภัยทั้งแก่ครอบครัวและประเทศชาติ อินเตอร์เน็ตเป็นทั้งแหล่งความรู้และแหล่งอบายมุกไป พร้อม ๆ กัน เหมือนดาบสองคม ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์จึงมักขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หรือขึ้นอยู่กับการชักนำไปว่าจะใช้ในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่ ซึ่งการที่เด็กของเราจะรับรู้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับการดูแลอย่างใกล้ชิดของทั้งสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาในอันที่จะร่วมมือกันอย่างจริงจัง

ที่มา https://jhanu.wikispaces.com








https://youtu.be/o2bKvmCBdHM 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น